๑. ความหมาย
สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืน ผู้ซื้อจะยอมขายคืน เช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้

ตัวอย่างนายสีนำสวนทุเรียนไปขายกับผู้ใหญ่ผิน โดยมีข้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ใหญ่ผิน ยินยอมให้นายสีไถ่ที่สวนทุเรียนนั้นคืนได้ภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ซื้อขายที่สวนกัน สัญญาชนิดนี้เรียกว่าสัญญาขายฝาก
ข้อตกลงที่ว่า “ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้” ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน เท่านั้น ถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาขายฝาก แต่เป็นเพียง คำมั่นว่าจะขายคืนเท่านั้น

๒. ทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้
ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม เช่น ที่ดิน ที่สวน ไร่นา บ้าน รถยนต์ เรือ เกวียน โทรทัศน์ ฯลฯ ย่อมสามารถขายฝากได้เสมอ

๓. แบบของสัญญาขายฝาก

(๑) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น ที่ดิน ที่นา บ้าน ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เป็นที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ที่ดิน ถ้าเป็นบ้านก็จดทะเบียนต่อที่ว่าการอำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากนี้เสียเปล่าเป็นอันใช้ไม่ได้ เท่ากับว่าไม่ได้ทำสัญญากันเลย

ตัวอย่างนายทุเรียนต้องการขายฝากที่ดิน ๑ แปลงแก่นายส้มโอ ก็ต้องทำสัญญาขายฝากที่ดินและ จดทะเบียนการขายฝากที่ดินนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าไม่ทำเช่นนี้แล้ว ถือว่าสัญญาขายฝากรายนี้เสียเปล่าใช้ ไม่ได้มาแต่แรก

(๒) ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ (คือ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่) เช่น แพ เรือยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนที่อำเภอ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้เลย

(๓) ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา (คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้แต่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่) ที่มีราคาตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป เช่น รถยนต์

ตู้เย็น แหวน สร้อย นาฬิกา โทรทัศน์ ฯลฯ การขายฝากชนิดนี้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือต้องมีการวางมัดจำหรือจำต้องมีการชำระหนี้บางส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้ว กฎหมายถือว่า สัญญาขายฝากรายนี้ต้องห้ามมิให้มีการฟ้องบังคับคดี

๔. ข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก

ในการตกลงฝากคู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝากก็ได้ แต่ถ้า ผู้ซื้อฝากฝ่าฝืนข้อตกลงที่กำหนดในสัญญา โดยนำทรัพย์สินที่ขายฝากไปจำหน่ายให้ผู้อื่น ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหาย ใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขายฝาก

ตัวอย่างนางดำ นำแหวนแต่งงานของตนซึ่งมีราคา ๗๐,๐๐๐ บาท ไปขายฝากต่อเถ้าแก่เฮงในราคา ๕๐,๐๐๐ บาท โดยในสัญญาตกลงว่า “ห้ามเถ้าแก่เฮงนำแหวนไปขายให้แก่บุคคลอื่น” ต่อมาเถ้าแก่เฮงนำแหวนไปขายให้แก่นางจิ๋ว โดยนางจิ๋วไม่ทราบว่าแหวนนี้เป็นของผู้ใด เป็นเหตุให้นางดำไม่สามารถติดตามเอาแหวนคืนได้ เช่นนี้ เถ้าแก่เฮงต้องชดใช้ค่าเสีu3618 .หายอันเป็นราคาแหวน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่นางดำ

๕. กำหนดเวลาในการไถ่ทรัพย์สินคืน

(๑) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่คืนไม่เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่มี การซื้อขายฝากกัน แต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่เอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า ๑๐ ปี กฎหมายให้ลดเวลาลงเหลือแค่ ๑๐ ปีเท่านั้น

(๒) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและชนิดธรรมดา ต้องกำหนดเวลาไถ่คืนไม่เกิน ๓ ปี นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน แต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่คืนเอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า ๓ ปี ให้ลดเวลาลงเหลือ ๓ ปี เท่านั้น

กฎหมายกำหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้มีการขยายเวลาไถ่ถอนออกไป” (คือ การที่คู่กรณีทั้ง ๒ ฝ่ายตกลงกัน เลื่อนกำหนดเวลาในการไถ่ทรัพย์สินคืนออกไปจากระยะเวลาเดิม) ถ้าคู่กรณีตกลงให้มีการขยายเวลาไถ่ออกไป กฎหมายให้ถือว่า ข้อตกลงนี้มีผลเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้

ตัวอย่างนายแขก ทำสัญญาขายฝากควาย ชื่อว่า เผือก ต่อมานายไข่ กำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ไว้ ๖ เดือน เมื่อถึงกำหนดไถ่ นายแขกยังหาเงินมาไม่ได้จึงไปตกลงกับนายไข่ว่า “ตนขอเวลาในการใช้สิทธิไถ่ออกไป ๓ เดือน”ข้อตกลงนี้แม้ว่านายไข่จะตกลงก็ตามแต่กฎหมายถือว่าข้อตกลงนี้เสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเลยกำหนดเวลา ๖ เดือนแล้วนายแขกยังไม่มาไถ่ ถือว่าเลยกำหนดเวลาไถ่ ทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของนายไข่ทันที ดังนั้นเมื่อนายแขกนำเงินมาไถ่ในภายหลัง นายไข่จึงมีสิทธิไม่ให้ไถ่ควายคืนได้